12bet link

ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

วัณโรค 1 ใน 4 โรคติดเชื้อทำให้เสียชีวิตติดอันดับโลก  สธ.เดินหน้ายุทธศาสตร์ยุติวัณโรค  ชู 5 แนวทาง ลดป่วยรายใหม่ลง 90% ในปี 2578 หรือลดอัตราป่วยปีละ 5% เดินหน้าค้นหา 7 กลุ่มเสี่ยงเข้าถึงการคัดกรองและรักษา เผยหารือ สปสช.เห็นชอบเพิ่มยาสูตรใหม่รักษาวัณโรคดื้อยาเข้าสิทธิประโยชน์

  เมื่อวันที่ 22 มี.ค. รศ.นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย  นพ.นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ศ.เกียรติคุณ นพ.อรรถ นานา นายกสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ดร.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย แถลงข่าวรณรงค์ยุติวัณโรคเนื่องในวันวัณโรคสากล ปี 2567

วัณโรค 1 ใน 4 โรคติดเชื้อทำให้เสียชีวิตติดอันดับโลก  

รศ.นพ.เชิดชัย กล่าวว่า สธ.ตระหนักและให้ความสำคัญถึงปัญหาวัณโรคมาโดยตลอด มีแผนงานและกิจกรรมที่จะผลักดันขับเคลื่อนนโยบายป้องกัน ดูแล รักษา และควบคุมวัณโรคของประเทศ เพื่อลดอัตราป่วยและตายจากวัณโรค ทั้งนี้ สาเหตุของโรคติดเชื้อที่ทำให้เสียชีวิตระดับโลก 4 อันดับ คือ โควิด 19 วัณโรค  เอชไอวี และมาลาเรีย การจะลดการป่วยและตายจากวัณโรค ต้องมีเครือข่ายที่ร่วมกันทั้งสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐและเอกชน ซึ่ง สธ.มียุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB Strategy) ในปี พ.ศ. 2578 คือ 1.เร่งรัดค้นหาและตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคและวัณโรคดื้อยาทุกกลุ่มเสี่ยง  2.ยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคและวัณโรคดื้อยา 3.เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการวินิจฉัยการรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 4.เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบสนับสนุนการดําเนินงานวัณโรค และ 5.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมป้องกัน ดูแลรักษา และควบคุมวัณโรค เพื่อยุติวัณโรค ลดอัตราตายลงร้อยละ 95 และลดผู้ป่วยรายใหม่ลงร้อยละ 90 ภายในปี 2578

เผยผลงาน 3-4 ปีควบคุมวัณโรคควบคู่โควิด

รศ.นพ.เชิดชัยกล่าวว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา สธ.ทำงานหนักในการควบคุมโรคโควิด 19 แต่ก็ยังควบคุมวัณโรคควบคู่ไปด้วยจนประสบความสำเร็จ “Success stories : the journey of Thailand” ได้แก่ 1.ประเทศไทยพ้นออกจากกลุ่มประเทศที่มีปัญหาด้านจำนวนและอัตราป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูงที่สุดของโลกได้ในปี 2564  2.ผลักดันนโยบายในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ 7 กลุ่มเสี่ยงสูงต่อวัณโรคเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ในปี 2565  3.มีการค้นหาคัดกรองตรวจวินิจฉัยด้วยการ X-ray ปอดและตรวจเสมหะด้วยเทคนิคทางโมเลกุล ระดับอณูชีววิทยา ตลอดจนขึ้นทะเบียนรักษาผู้ป่วยวัณโรค และวัณโรคดื้อยาด้วยสูตรยาระยะสั้นและยาใหม่ๆ ในทุกสถานพยาบาลทั่วประเทศศ  4.ขยายเครือข่ายการตรวจหาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาการติดเชื้อ วัณโรคระยะแฝงในกลุ่มผู้สัมผัสครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ 5.พัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) การถ่ายภาพรังสีทรวงอก เพื่อคัดกรองเชิงรุกในประชากร กลุ่มเสี่ยง พร้อมนำไปติดตั้งกับระบบเครื่องเอกซเรย์บนรถหน่วยบริการเคลื่อนที่ภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ 6.พัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคของประเทศไทย (NTIP) และได้จดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นฐานข้อมูลหนึ่งเดียวของประเทศไทยกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา 7.พัฒนาความร่วมมือในระดับต่างๆ ทั้งใน รพ.มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาทางการแพทย์ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมมือเร่งรัดคัดกรองวัณโรคเชิงรุกในเรือนจำกระทรวงยุติธรรม ตามโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ และ 8. พัฒนาความร่วมมือในระดับนานาชาติ ทั้งการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติ การศึกษาวิจัยวัณโรคระยะแฝง การดำเนินงานควบคุมวัณโรคในประชากรข้ามชาติ และพื้นที่ชายแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เตรียมการสำรวจความชุกของวัณโรคระดับชาติของประเทศไทยร่วมกับนานาชาติอีกด้วย

12bet linkLiên kết đăng nhập

24 มีนาคมของทุกปีวัน “วัณโรคสากล”

นพ.นิติ กล่าวว่า วันวัณโรคสากล (World TB Day) ตรงกับวันที่ 24 มี.ค.ของทุกปี โดยปีนี้กำหนดข้อความรณรงค์ คือ YES! WE CAN END TB หรือ “ยุติวัณโรค เราทำได้” สื่อไปถึงทุกภาคส่วน ว่าวัณโรคยังคงเป็นโรคติดต่อที่เป็นนักฆ่าที่อันตรายที่สุดในโลก โดยแต่ละวันจะมีคนเสียชีวิตจากวัณโรคกว่า 4,000 คน และเกือบ 30,000 คน ล้มป่วยด้วยวัณโรคในทุกๆ วัน ส่วนข้อมูลในประเทศไทย ปี 2566 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการณ์ว่า มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 111,000 รายต่อปี และเสียชีวิตกว่า 12,000 รายต่อปี เราสามารถค้นหาคัดกรองเข้ามารักษา 7.8 หมื่นคน มีช่องว่างอีก 3 หมื่นคน ที่ต้องมาช่วยกันเพื่อนำคนเข้ามารักษา

เน้นการเข้าถึงกระบวนการรักษา 7 กลุ่มเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มผู้ป่วยวัณโรคของไทยลดลง โดยพบว่า ปี ค.ศ. 2000 เรามีผู้ป่วยวัณโรค 241 ต่อแสนประชากร แนวโน้มผู้ป่วยลดลงต่อเนื่องจนปี 2021 อยู่ที่ 143 ต่อแสนประชากร และเพิ่มขึ้นในปี 2022 เป็น 155 ต่อแสนประชากร ซึ่งในปี 2035 หรือปี 2578 ที่ต้องการยุติวัณโรคนั้น หากเราลดอัตราป่วย 2% ต่อปี จะยังมีอัตราอยู่ที่ 119 ต่อแสนประชากร ดังนั้นเราต้องพยายามลดอัตราป่วยลง 5% ต่อปี จะทำให้ปี 2578 เรามีอัตราป่วยเหลือ 80 ต่อแสนประชากร โดยต้องพยายามเน้นการเข้าถึงเข้ากระบวนการรักษาใน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1.ผู้สัมผัสผู้ป่วยหรือคนร่วมบ้าน ซึ่งเราพบว่าคนร่วมบ้านใกล้ชิดมีโอกาสเป็น 20% ถ้าพาญาติใกล้ชิดมาตรวจค้นหาความเสี่ยง โอกาสแพร่กระจายก็น้อยลง  2.ผู้ต้องขังในเรือนจำ มี 3.5 แสนคน เราจึงดำเนินการอย่างโครงการราชทัณฑ์ปันสุขในการค้นหาคัดกรอง   3.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  4.ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เอชไอวี 5.8 แสนคน คนทานยากดภูมิต้านทาน อย่างผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ ก็น่าจะมีประมาณ 1 พันรายต่อปี  5.ผู้ป่วยเบาหวาน  6.ผู้สูงอายุเกิน 65 ปี มีโอกาสเป็นวัณโรคระยะแฝงในร่างกาย และ 7.แรงงานข้ามชาติต่างด้าว  โดย 4 กลุ่มแรกต้องเร่งค้นหากลุ่มนี้ เราอาจจะได้ผู้ป่วยเข้ามาเพิ่ม 1 หมื่นคนต่อปี
  "ทั้งหมดนี้เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งประเทศไทยยังติดเรื่องนี้อยู่ ก็จะร่วมมือกันทุกภาคส่วนดำเนินการเพื่อยุติปัญหาวัณโรคให้ได้ในปี 2578 โดยเน้นการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก การวินิจฉัยรักษาอย่างรวดเร็ว ปรับเปลี่ยนสูตรยาตามแนวทางองค์การอนามัยโลก ฯลฯ เพื่อลดอัตราป่วยตายวัณโรค สู่เป้าหมาย เมืองไทยปลอดวัณโรคเพื่อโลกปลอดวัณโรค" นพ.นิติกล่าว
  ศ.เกียรติคุณ นพ.อรรถ กล่าวว่า สมาคมปราบวัณโรคฯ สนับสนุนร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข และองค์กรอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันในการรักษา ควบคุม ป้องกัน และกำจัดวัณโรคให้หมดไป โดยสมาคมปราบวัณโรคฯ มีวิธีการปฏิบัติคือ 1.ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยวัณโรค 2.ดำเนินการและร่วมมือในด้านสาธารณสุข เพื่อป้องกันและควบคุมวัณโรค 3.ดำเนินการและร่วมมือในการวิจัยเรื่องวัณโรค และเผยแพร่ความรู้เรื่องวัณโรค ให้แก่ กลุ่มสหวิชาชีพ ต่างๆ 4.ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ การสุขศึกษา ความรอบรู้เรื่องวัณโรคให้แก่ประชาชนปฏิบัติการอื่นๆ อันจะพึงบังเกิดคุณประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติ ต่อไป

วัณโรค โรคติดต่อทางเดินหายใจ แร่เชื้อจากการไอ จาม พูดคุย

ทั้งนี้ วัณโรคเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ ที่แพร่เชื้อจากผู้ป่วยจากการไอ จาม พูดคุย คนที่ได้รับเชื้อจะมีโอกาสป่วยเป็นวัณโรค เมื่อป่วยก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย และครอบครัว แต่เป็นโรคที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะสามารถรักษาหายได้ โดยกินยาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง 6 เดือน โดยต้องรีบตรวจหาหรือวินิจฉัยให้เร็ว เมื่อมีอาการผิดปกติหรือเมื่อเรารู้ว่าเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค ให้รีบตรวจหาวัณโรคให้เร็วที่สุด ที่ รพ.หรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อเข้าสู่กระบวนการการรักษาตามมาตรฐาน วัณโรครักษาหายได้ ลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่น และมีทัศนคติที่ดี ไม่แบ่งแยกไม่ลดคุณค่า ไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยวัณโรค

12bet linkLiên kết đăng nhập

อัปเดตยารักษาวัณโรคสูตรใหม่

ถามถึงความคืบหน้าของยารักษาวัณโรคสูตรใหม่  นพ.ไกรสร โตทับเที่ยง ผอ.กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ทั่วโลกมีสูตรยาวัณโรคหลายสูตร ประเทศไทยพยายามติดตามการใช้สูตรยาเดียวกับที่ WHO แนะนำให้ใช้ เมื่อเช้าวันที่ 22 มี.ค. กองวัณโรคเพิ่งจะเจรจา สปสช. เพื่อให้ยอมรับการใช้ยาวัณโรคสูตรใหม่ล่าสุดที่ WHO สนับสนุนรักษาวัณโรคดื้อยาเป็นสิทธิประโยชน์หลักคนไทย ซึ่งอนุกรรมการฯ ก็เห็นชอบในหลักการเพื่อให้คนไทยใช้ยาตัวใหม่นี้ โดย สปสช.จะสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาซื้อยา ซึ่งเดิมที่ผ่านมายาตัวใหม่นี้บางส่วน สปสช.จัดซื้อ บางส่วนต้องขอสนับสนุนกองทุนโลกซื้อยามาให้ประเทศไทย แต่ต่อไป สปสช.ก็ดำเนินการใช้งบประมาณจัดซื้อยาได้ โดยเราจะติดตามคืบหน้าทางวิชาการว่าเมื่อไรมีแนวทางใหม่ๆ สูตรยาใหม่ๆ พยายามใช้ยาให้ทันสมัยที่สุด สำหรับสูตรยาวัณโรคนั้น สำหรับกรณีผู้ป่วยปกติไม่ดื้อยา ใช้ยาสูตรมาตรฐานรักษาประมาณ 6 เดือน กรณีดื้อยาก่อนหน้านี้หลายปีก่อนใช้เราใช้ยาฉีด เวลารักษา 18-20 เดือน ต่อมาสั้นลงมาเหลือ 9-11 เดือน เมื่อมียากินดีกว่ายาฉีด ก็ปรับเหลือยากินใช้เวลา 9-11 เดือน ล่าสุดใช้ยากินอย่างเดียว 6 เดือน ประสิทธิภาพจาก 60-70% ก็ขยับเกือบเป็น 90% โดยผู้ป่วยดื้อยาเราคำนวณว่ามีประมาณปีละ 1 พันคน ก็จะทำแผนเพื่อจัดซื้อยาและเตรียมสำรองไว้กรณีแรงงานต่างด้าว และกลุ่มที่ไร้สิทธิด้วย
m88vin fun88k 8xbet gg mu88 bet fun88 chính thức