12bet link

ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

"หมอครอบครัว" เผย รัฐควรจัดงบประมาณที่ชัดเจน-ต่อเนื่อง-สอดคล้องกับพื้นที่ รวมทั้งมีบุคลากรเพียงพอต่อภาระงาน  ชี้! การถ่ายโอน รพ.สต. ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ 

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวกับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและการถ่ายโอน รพ.สต.

ขณะนี้การถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ.เดินทางเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว ซึ่งแน่นอนว่ายังมีบุคลากรหลายคนเกิดข้อคำถามและความเห็นที่แตกต่างกันไปว่า ถ่ายโอนมาแล้วดีจริงหรือไม่ การบริการต่อประชาชนดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน รวมถึงบุคลากรเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนแล้วหรือยัง... ซึ่งหนึ่งในวิชาชีพที่สำคัญต่อการดูแลประชาชนอยางใกล้ชิดมาโดยตลอดนั่นคือ "แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว" โดยจะมีบทบาทในการสัมผัสและคุ้นเคยกับชุมชนโดยตรงนั้น

เรื่องนี้ พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย และประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับสำนักข่าว Hfocus ว่า แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นบุคลากรกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ความสามารถในการให้บริการแก่ประชาชนในระบบบริการปฐมภูมิมาได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม กล่าวคือเป็นบุคลากรที่เหมาะกับการดูแลปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยได้อย่างเป็นองค์รวมผสมผสาน ไม่ได้ดูแค่ว่าประชาชนเป็นโรคอะไรมาแล้วให้ยาอย่างเดียว

"แพทย์กลุ่มนี้ยังจะต้องค้นหาปัญหาสุขภาพที่ยังไม่เป็น "โรค" อาจเป็น "สภาวะ" ที่วิตกกังวล มีภาวะทางสังคม จิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องหาสาเหตุและให้การดูแลอย่างรอบด้านเพื่อช่วยบรรเทาความกังวลความไม่เข้าใจต่อโรคปัญหาสุขภาพที่เป็น ลดโอกาส shopping around ของคนไข้ที่วิ่งหาหมอ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุดตรงใจ รวมทั้งช่วยเป็นแพทย์ที่เชื่อมต่อบริการกับโรงพยาบาลที่รักษาเฉพาะทางกับผู้ป่วยที่บ้านและในชุมชนให้มีช่องว่างและรอยต่อที่ลดลงจนไร้รอยต่อ
ฉะนั้นหากมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวร่วมให้บริการในระบบบริการปฐมภูมิซึ่งรวมทั้ง รพ.สต. ที่ถ่ายโอนจะช่วยเป็นการยกระดับคุณภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและบริการที่เชื่อมโยงกับโรงพยาบาลได้อย่างดีมากขึ้น แพทยศาสตร์ครอบครัวเข้าใจและเห็นความสำคัญของ รพ.สต. เห็นความสำคัญต่อหน่วยบริการที่เป็นฐานรากได้มากกว่าแพทย์สาขาอื่นแต่หากไม่มีแพทย์สาขานี้ก็ต้องมีการฝึกอบรมพัฒนาสร้างความเข้าใจเบื้องต้นในระยะเปลี่ยนผ่านไปได้เช่นกัน

การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

สำหรับข้อเสนอต่อการพัฒนาบริการระบบสุขภาพปฐมภูมิ 1. ต้องจัดระบบบริหารจัดการที่รองรับหน่วยปฐมภูมิ คือมีงบประมาณที่ชัดเจนต่อเนื่องให้ระบบสุขภาพปฐมภูมิ รวมทั้งมีงบประมาณสนับสนุนการทำงานที่หน่วยปฐมภูมิตัดสินใจได้เอง ให้สอดคล้องกับพื้นที่และมีบุคลากรทำงานที่พอเหมาะกับภาระงาน  คือมีบุคลากรสาธารณสุข 1 คนต่อประชากร 1,250 คน พยาบาล 1 คนต่อประชากร 2,500 คน และแพทย์ 1 คนต่อประชากร 10,000 คน 2. พัฒนาศักยภาพบุคลากรปฐมภูมิให้มีความสามารถในด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและการพัฒนาแผนการดูแลสุขภาพประชากรในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3. มีระบบบริการที่โรงพยาบาลรองรับเชื่อมโยงบริการกันและกันได้พอดี ภายใต้การถ่ายโอนนี้ถ้าทำให้ระบบกระจายอำนาจไปที่หน่วยบริการปฐมภูมิให้ทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น ลดภาระงานบริหารจัดการทั่วไปได้ สนับสนุนให้มีการทำแผนดำเนินงานที่สอดคล้องพอเหมาะกับพื้นที่ได้ ก็จะเป็นโอกาสการพัฒนาที่ดีและควรมีความต่อเนื่อง เสถียร ไม่ขึ้นลงตามผู้บริหารบุคคล  

12bet linkLiên kết đăng nhập

 
m88vin fun88k 8xbet gg mu88 bet fun88 chính thức